บริษัท ศรีราชาฟาร์ม เริ่มต้นการเลี้ยงสุกรดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง ทางบริษัทได้รับการอนุมัติให้ส่งสุกรออกต่างประเทศ โดยส่งทางคอนเทรนเนอร์ ซึ่งต้องผ่านการตรวจอย่างละเอียดทุกขั้นตอน จนกรมปศุสัตว์ให้การยอมรับเป็นฟาร์มที่ได้รับมาตรฐานดีเยี่ยม
ต่อมาสุกรเกิดราคาตกต้องขาดทุนตัวละ 1,000 บาท ซึ่งเมื่อเทียบเป็นจำนวนขายแล้วไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทต่อเดือน จึงได้เริ่มมีการมองหาลู่ทางในการมองหาสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่เข้ามา และดูเหมือนว่าจระเข้จะเป็นตัวหนึ่งที่อยู่ในความสนใจ
ปี 2532 ทางศรีราชาฟาร์มได้ทำการศึกษาถึงการเลี้ยงจระเข้อย่างจริงจัง โดยมีข้อมูลแต่เพียงว่าการเพาะเลี้ยงจระเข้ในเมืองไทย มีการเลี้ยงจระเข้พันธุ์น้ำจืดมาช้านานแล้ว แต่ยังติดปัญหาเรื่องการฟักไข่ไม่ค่อยได้ผล คือใช้วิธีแบบธรรมชาติ ซึ่งมีโอกาสสูญเสียกว่า 60% จากนั้นปี 2533 ได้เดินทางไปชมและศึกษาการเลี้ยงจระเข้ที่ศูนย์วิจัยเมืองดาวิน ประเทศออสเตรีย ซึ่งมีการให้เทคโนโลยีที่สูงมากในการเพาะเลี้ยงจระเข้ โดยเฉพาะการฟักไข่ด้วยตู้ควบคุมอุณหภูมิที่สามารถกำหนดเพศของจระเข้จากอุณหภูมิและกำหนดเปอร์เซ็นต์ได้
สำหรับการเลี้ยงจระเข้ในระยะเริ่มต้น ทางศรีราชาซื้อจระเข้ได้เพียง 1,000 กว่าคู่เท่านั้น โดยใช้เงิน 20 ล้านบาท และศึกษาการเพาะเลี้ยงทั้งทางด้านปฏิบัติและด้านวิชาการอย่างจริงจังเพื่อพัฒนาการเพาะให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยซื้อเทคนิคการฟักไข่มาจากประเทศออสเตรีย ซึ่งมีมูลค่ากว่า 2 ล้านบาทมาใช้ในฟาร์มด้วย
ปัจจุบันบริษัทศรีราชาฟาร์ม สามารถเพาะเลี้ยงจระเข้ได้โดยใช้ระบบคัดพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพ มีการวิจัยการเลี้ยงพ่อพันธุ์เป็นคู่ ประมาณ 5,000 คู่ โดยเฉพาะในส่วนของพ่อแม่พันธุ์แต่ละคู่จะมีเลขเป็นเบอร์ติดตัว และแต่ละตัวเมื่อเกิดลูกก็จะคัดออกมาเลี้ยง มีการรัดเกล็ดและฝังไมโครชิพและเบอร์ และติดตามการเจริญเติบโตของลูกจระเข้ว่าเป็นอย่างไร มีอัตราการแลกเนื้อดีหรือไม่จากนั้น การคัดเอาเฉพาะในชุดคือ ทั้งพ่อแม่พันธุ์และลูกที่มีมาตรฐานที่ดีที่สุดเพื่อนำไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ในรุ่นต่อไป
นอกเหนือจาการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในบ่อเลี้ยงคู่แล้ว ยังมีการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในระบบการเลี้ยงแบบบ่อรวม โดยการปล่อยในอัตราบ่อละ 50 จากนั้นนำข้อมูลจากการเลี้ยงในบ่อคู่และการเลี้ยงในบ่อรวมมาเปรียบเทียบกันว่าแบบใดได้ผลผลิต(ไข่) ดก และเป็นไข่ที่มีเชื้อมากกว่ากัน
บริษัท ศรีราชาฟาร์ม เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับจระเข้ มีการดำเนินงานทั้งในส่วนการเพาะเลี้ยง การชำแหละ การฟอก และการทำเครื่องหนังจระเข้ เป็นการดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร
นอกจากนี้ทางบริษัทยังได้เป็นสมาชิกผู้เพาพันธุ์จระเข้แห่งประเทศไทย(COCOT) และเข้าร่วมกับร่วมงานของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับจระเข้ (CSG) จึงได้รับอนุญาตให้ดำเนินการค้าขายจระเข้ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งการพัฒนาการเลี้ยงจระเข้ของศรีราชาฟาร์มนั้น จะต้องใช้เงินลงทุนกว่า 460 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันในฟารืมมีจระเข้ทั้งหมดมากกว่า 80,000 ตัว โดยแบ่งเป็นจระเข้พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ประมาณ 4,500 ตัว จระเข้ขุนประมาณ 35,000 ตัว จระเข้อนุบาล(เตรียมขุน) 14,000 และจระเข้ที่เกิดใหม่ในปี 2542 ประมาณ 26,000 ตัว
การแบ่งพื้นที่โดยประมาณภายในศรีราชาฟาร์ม จากพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 300 ไร่แบ่งเป็นพื้นที่เลี้ยงสุกร 100 ไร่ พื้นที่เลี้ยงจระเข้พ่อแม่พันธุ์ 60 ไร่พื้นที่เลี้ยงจระเข้อนุบาล 20 ไร่ พื้นที่เลี้ยงจระเข้ขุน 80ไร่ โรงชำแหละ 1 ไร่ โรงฟอก 800 ตารางเมตร โรงเครื่องหนัง 800 ตารางเมตร โรงฟักไข่ 164 ตารางเมตร
ปัจจุบัน บริษัทได้เปิดโอกาสให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเลี้ยงจระเข้ขุนให้แก่เกษตรกรด้วยการขายลูกจระเข้ให้เกษตรกรและมีการรับซื้อคืนโดยมีสัญญารับประกันการซื้อคืน ซึ่งมีลูกฟาร์มในขณะนี้แล้วกว่า 300 ราย ทั่วประเทศ เป็นจระเข้กว่า 20,000 ตัว เพื่อนำมารองรับการชำแหละเนื้อและหนังจระเข้ตามความต้องการของลูกค้า และเพื่อการส่งออกเนื้อจระเข้เป็นๆ