ผลิตภัณฑ์จระเข้

เป็นเวลานานกว่า 10 ปีที่ฟาร์มจระเข้ ศรีราชา เป็นที่รู้จักแพร่หลายว่าเป็นผู้ผลิตสัตว์เศรษฐกิจสำคัญอย่างจระเข้ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จนสามารถผลิตจระเข้ได้อย่างตลบวงจร เป็นผลสำเร็จจนได้รับการยกย่องว่าเป็นฟาร์มจระเข้ครบวงจรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมาตรฐานการเลี้ยงจระเข้ขุนจนเป็นที่ยอมรับ และสามารถผลิตหนังจระเข้เกรดเอจากการเลี้ยงจระเข้ต่อรุ่นได้มากกว่า 80% ที่แม้แต่แวดวงผู้เลี้ยงจระเข้ในต่างประเทศ ยังถึงกับตื่นเต้นว่าทำได้ไงนี่?

แต่ความสำเร็จนี้ก็มาจากการตั้งใจจริง ที่ผู้บริหารของศรีราชาฟาร์มทุ่มเทกับการทำงานในการเพาะเลี้ยง รวมไปถึงกระบวนการที่ส่งต่อให้สมาชิกเลี้ยงจระเข้จนมีขนาด 1 เมตร 80 เซนติเมตร แล้วจึงขายกลับคืนสู่ฟาร์ม การเลี้ยงจระเข้แบบบ่อเดี่ยว หรือเลี้ยงเพียงตัวเดียวนั้น ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพของหนัง ประกอบกับจระเข้ของไทยทั้งพันธุ์น้ำจืดและพันธุ์น้ำเค็มจัดว่าหนังอยู่ในระดับคลาสสิค หนังฟอกง่าย สวยงาม มีคุณภาพดี จากขั้นตอนของการฟอกหนังและย้อมสีแล้ว ขั้นตอนสำคัญจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเครื่องหนังจากจระเข้ก็คือ การตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ต่างๆมากมายกว่า 100 ชนิด และแต่ละชนิดยังมีการออกแบบลวดลายสีสัน รูปทรงไปอีกนับร้อยแบบ โดยมีการจัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์จระเข้แบบครบวงจรขึ้นที่บริเวณด้านหน้าของศรีราชาฟาร์ม

ผลิตภัณฑ์จากเครื่องหนังจระเข้นั้น สามารถนำมาแปรรูปได้มากมายหลายแบบ เช่น ทำเป็นกระเป๋าถือสตรี กระเป๋าสตางค์ ซองใส่โทรศัพท์มือถือหรือพีซีที พวงกุญแจ เข้มขัด สารพัดแบบก็ล้วนแต่พิเศษสุดๆ เหมาะสมกับทุกรสนิยม และประการสำคัญเป็นเครื่องหนังขนานแท้แน่นอน ไม่ใช่หนังปลอมจากวัสดุสังเคราะห์แล้วมาขายดูดทรัพย์คนไทยด้วยกันจนเศรษฐกิจของชาติอ่อนแอลงทุกขณะก็ยังไม่สำนึก หนังจระเข้นี้สามารถนำมาตัดเย็บหรือสร้างสรรค์เป็นชิ้นงานคุณภาพมากมาย แต่ในที่นี้เราจะแนะนำวิธีทำกระเป่าถือว่าเป็นสินค้ายอดนิยมของทางศรีราชา ที่ส่งออกไปขายทั่วโลกและครองใจลูกค้าคนไทย

ขั้นตอนการผลิตภัณฑ์กระเป๋า
1. การออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามต้องการ
2. ออกแบบเป็น PaTTeern ส่วนประกอบต่างๆ เช่น ด้านหน้า ด้านหลัง ก้น ข้าง ฝา
3. คัดเลือกวัตถุดิบ เช่น หนังจระเข้ หนังประกอบภายในตัวล็อคกระเป๋าและส่วนตกแต่งอื่นๆ
4. การตัดเย็บ / ประกอบงาน

ขั้นตอนการตัดเย็บ
1. การเตรียมส่วนประกอบภายนอก หรือที่เรียกว่า หนังตัวนอก หนังโชว์
2. การเตรียมส่วนประกอบภายใน หรือที่เรียกว่าซับใน
3. การเตรียมส่วนที่เป็นโครงสร้างที่หรือที่เรียกว่า โครงกระเป๋า

ส่วนที่ 1 การเตรียมส่วนประกอบภายนอก
– วาดแบบตามที่ต้องการลงบนหนังจระเข้ที่เหมาะสมกับชิ้นงานนั้นๆ ด้วยดินสอวาดหนัง
– ตัดหนังตามแนววาด ปลอกหนังส่วนที่มีความหนาแน่นเกินความต้องการออกด้วยเครื่องจักร
– ปลอกหนังส่วนริมออกให้มีความเหมาะสมในการพับหรือเย็บ

ส่วนที่ 2 การเตรียมส่วนประกอบภายใน
– เลือกวัตถุที่จะผลิต เช่น หนังหรือผ้า
– วาดแบบลงซับในที่ต้องการ
– ทากาวประกอบชิ้นส่วนเพื่อนำไปเย็บ เช่น ชิ้นซิปภายใน หรือช่องเก็บของภายใน
– นำส่วนประกอบต่างๆเย็บด้วยเครื่องจักร รอการนำไปประกอบกับส่วนประกอบภายนอก

ส่วนที่ 3 การเตรียมส่วนประกอบภายใน
– เลือกวัตถุที่จะทำโครงสร้าง เช่นกระดาษที่มีความหนาต่างๆ ฟองน้ำ ผ้ากาว เหล็กเสริมทรง ฯลฯ
– วาดแบบลงวัตถุที่ต้องการและตัดตามแนวที่วาด
– ประกอบส่วนต่างๆ(เข้าตัวกระเป่า)
– ประกอบส่วนภายนอก(หนังจระเข้) เข้ากับส่วนโครงสร้างเสริมทรง (กระดาษฟองน้ำ) ด้วยกาวภายนอก
– ส่วนตกแต่ง เช่น ล็อคกระเป๋า ส่วนตกแต่งอื่นๆ ตามตำแหน่งที่ออกแบบไว้
– ประกอบส่วนซับในที่เตรียมเข้ากับส่วนประกอบภายนอกด้วยกาว ภายนอก เช่น ด้านหน้ากระเป๋า ด้านหลัง ด้านข้าง ก้นกระเป๋า ฝา
– ทากาวเผื่อพับริมหรือเย็บตามแบบที่ออกแบบไว้
– ทากาวเพื่อประกอบชิ้นส่วนต่างๆเพื่อเข้าตัวกระเป๋าตามแบบ ทุบด้านริมกระเป๋าเพื่อความแน่น ด้วยค้อนหรือเครื่องจักร
– เย็บประกอบด้วยเครื่องจักรเพิ่มความแน่นหนาแข็งแรง
– ตกแต่งด้วยน้ำยาเคลือบ ขัดเงา เป็นขั้นตอนสุดท้ายพร้อมออกจำหน่าย